วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553

สถานที่ท่องเทียวจังหวัดสมุทรปราการ

เมืองโบราณ เปรียบดัง บานประตูที่เผยออกให้เห็นถึง มรดกแห่งภูมิปัญญาไทย ด้วยสัญลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมรูปแบบต่าง ๆ ผสมผสานกับงานวิจิตรศิลป์และประณีตศิลป์ การจัดวางโครงสร้างและสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติที่สอดคล้องและสัมพันธ์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ก่อให้เกิดบรรยากาศที่โน้มนำให้ผู้มาเยือนได้รับรู้และเข้าใจถึงความสืบเนื่องของประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ศาสนา ศิลปะ และขนบธรรมเนียมประเพณีของคนไทยในอดีตตราบจนถึงปัจจุบัน

วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553

ช้างเอราวัณ

สถานที่: Erawan Museum
ที่ตั้ง: ถนนสุขุมวิท ขาเข้าจังหวัดสมุทรปราการ
เวลาทำการ: 8 นาฬิกา - 18 นาฬิกา
ค่าบัตรเข้าชม: ผู้ใหญ่ 150 บาท, เด็ก 50 บาท 50 บาท สำหรับค่าผ่านประตูโดยไม่เข้าชมภายในตัวพิพิธภัณฑ์
เลื่อนลงเพื่อดูอัลบั้มภาพและแผนที่ทางอากาศ
พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ ตั้งอยู่บนเนื้อที่ 12 ไร่ ของบริษัท ธนบุรีประกอบยนต์ จำกัด ตำบลบางเมืองใหม่ พิพิธภัณฑ์แห่งนี้สร้างจากแรงบันดาลใจ และความคิดของ คุณเล็ก วิริยะพันธ์ ผู้สร้างเมืองโบราณ จ.สมุทรปราการ และปราสาทสัจธรรม เมืองพัทยา จ.ชลบุรี เพื่อให้เป็นสถานที่เก็บรักษาศิลปวัตถุ มรดกทางวัฒนธรรมด้านต่าง ๆ และเพื่อสืบสานอนุรักษ์งานศิลป์ไทยให้คงอยู่สืบชั่วลูกชั่วหลานสืบไป ช้างเอราวัณหรือช้างสามเศียร เป็นประติมากรรมลอยตัวด้วยวิธีเคาะมือแห่งแรกที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทำจากโลหะทองแดง แผ่นเล็กสุดขนาดเท่าฝ่ามือนำมาเรียงต่อกันด้วยความประณีตนับแสนชิ้น ตัวช้างรวมอาคารมีความสูง 43.60 เมตร (หรือสูงขนาดตึก14-17ชั้นโดยประมาณ) อาคารพิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ ส่วนบนของตัวช้าง เฉพาะส่วนหัวมีน้ำหนักประมาณ 100 ตัน ลำตัวช้างหนัก 150 ตัน สูง 29 เมตร กว้าง 12 เมตร และยาว 39 เมตร ตัวช้างออกแบบให้เป็นพิพิธภัณฑ์จัดแสดงวัตถุมีค่า เช่น ภาพวาดสีฝุ่นรูปจักรวาล พระพุทธรูปปางลีลา บริเวณท้องช้างปูด้วยไม้มะเกลือสีออกดำ ส่วนล่างของตัวช้าง เป็นฐาน โครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก อาคารศาลามีความสูง 14.60 เมตร กระจายน้ำหนักตัวช้างด้วยคานวงแหวนรอบนอกและรอบในบนอาคาร ถ่ายน้ำหนักลงเสาแปดเสาภายนอกและสี่เสาภายในอาคารศาลาการตกแต่งภายในเป็นการ ผสมผสานศิลปะหลากหลายรูปแบบ เช่น การใช้กระจกสีแบบศิลปะตะวันตก, เครื่องเบญจรงค์สลับลวดลายสอดสี, การดุนโลหะบนแผ่นดีบุกของช่างเมืองนครศรีธรรมราช และรูปปั้นโบราณชนิดต่าง ๆ อาทิ คนธรรพ์บรรเลงดนตรี รูปพญานาค ของช่างเมืองเพชร ส่วนชั้นใต้ดินที่เรียกว่า “ชั้นบาดาล” เป็นที่จัดแสดงนิทรรศการและโบราณวัตถุจำนวนมาก อาทิ พระพุทธรูป เทวรูปสมัยต่าง ๆ และเครื่องลายครามของจีน ระเบียงรอบนอกตัวอาคารประกอบด้วยซุ้มแปดซุ้ม รอบพิพิธภัณฑ์เป็นอุทยานพรรณไม้ในวรรณคดี และพันธุ์ไม้หายากจากทุกภูมิภาคของประเทศ มีงานประติมากรรมลอยตัวเรื่อง รามเกียรติ์ วางเรียงรายล้อมรอบอาคาร

วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง

ตลาดน้ำบางผึ้ง เป็นอีกสถานที่หนึ่งที่จัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวของตำบลบางน้ำผึ้ง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยความร่วมมือของชาวบ้านร่วมกับผู้นำท้องถิ่น และ อบต.บางน้ำผึ้ง เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และสนับสนุนให้ชาวบ้านมีรายได้จากการนำผลผลิตในท้องถิ่นของตนเองมาจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้้ และก่อให้เกิดการสร้างงานภายในชุมชน ส่งผลทำให้ชุมชนเข้มแข็งมากขึ้นจะมีเฉพาะวันเสาร์และวันอาทิตย์ เริ่มเปิดตลาดประมาณแปดโมงเช้าเป็นต้นไปจนถึงเย็น ๆ เป็นตลาดน้ำที่ใกล้กรุงเทพ ซึ่งคุณจะเห็นวิถีชีวิตของชาวบ้านริมคลองพ่อค้าแม่ค้าหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส ซึ่งถือว่าเป็นตลาดน้ำเพื่อสุขภาพอีกแห่งหนึ่ง เพราะไม่ว่าใครได้มาเที่ยวที่ี่ตลาดน้ำบางผึ้ง นอกจากจะได้สัมผัสวิธีชีวิตริมน้ำของชาวพระประแดงแล้ว ก็ยังได้สัมผัสกับกิจกรรมทั้งในเรื่องของ
สุขภาพกาย และสุขภาพใจอีกด้วย เพราะว่าพ่อค้า แม่ค้า ที่นี่นอกจากจะเอาใจใส่เรื่องของคุณภาพของสินค้าแล้ว ก็ยังไม่ลืมที่จะใส่ภูมิปัญญาไทยๆ อย่างอาทิ สมุนไพรลงไปในสินค้า เมื่อบวกกับมิตรจิต มิตรใจ โอมอ้อมอารีของคนใน


ชุมชนตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง ก็ถือเป็นเอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของตลาดน้ำแห่งนี้

ตลาดน้ำบางน้ำผึ้งจะจัดเป็นซุ้มให้มีทางเดินยาวกว่า 2 กิโลเมตร ขนานไปกับคลองซอยสายเล็ก ๆ ที่แตกแขนงจากแม่น้ำเจ้าพระยาเข้ามาในพื้นที่ที่ทำการเกษตรของชาวบ้าน จัดจำหน่ายต้นไม้นานาพันธุ์ ปลาสวยงามหลากชนิด ก่อนมาที่ตลาดน้ำแห่งนี้ทำท้องให้ว่างไว้ดีที่สุด เพราะว่าอาหารการกินที่นี่หลากหลายมาก เช่น ก๋วยจั๊บ กระเพาะปลา รังนก ก๋วยเตี๋ยว และยังมีอาหารที่เราไม่ค่อยจะพบกันบ่อยนักแต่ว่าอย่าพึ่งทานให้อิ่มทีเดียวเพราะว่ายังมีอาหารที่ไม่ได้ขายในท้องตลาดทั่วไปอีกมาก ไม่ว่าจะเป็น ขนมครกหอยทอด ทอดมันปลา หมึกไข่เสียบไม้ห่อด้วยใบตอง แจงรอนห่อหมกู ลูกชิ้นโบราณมีทั้งไส้กุ้ง หมู เผือก แครอท หน้าตาไม่ค่อยคุ้นเท่าซักเท่าไหร่นัก หวานพื้นเมืองฝีมือ ชาวบ้านเช่น ขนมถ้วย ขนมจาก กล้วยแขก ม้าฮ่อ ขนมตระกูลทอง กาละแมกวน ฝอยเงินที่ใช้ไข่ขาวต้มในน้ำเชื่อมรสหวาน ชุ่มคอ หมี่กรอบโบราณ ฯลฯ แต่ว่าอาหารยังไม่หมดเท่านี้ส่วนที่เหลือคงต้องไปพิสูจน์ด้วยตัวเอง